วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเทศพม่า

ประเทศพม่า 

   

 

ประเทศพม่า
เมืองหลวง : กรุงเนปีดอ
เมืองใหญ่สุด : ย่างกุ้ง
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาราชการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา
สกุลเงิน : จัต
สหภาพเมียนมาร์ (Union of Myanmar) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw และชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า 
บะหม่า
ลักษณะภูมิประเทศ
ภาคเหนือ : มีเทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
ภาคตะวันตก : มีเทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เป็นที่ราบสูงชาน
ภาคใต้ : มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
ภาคกลาง : เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี
การแบ่งเขตการปกครอง
พม่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 รัฐ (states) และ 7 เขต (divisions)
• รัฐ (States)
1.รัฐชิน (Chin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองฮะคา
2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมิตจีนา
3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองปะอาน
4.รัฐกะยา (Kayah) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองหลอยก่อ
5.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมะละแหม่ง
6.รัฐยะไข่ (Rakhine) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองซิตตเว
7.รัฐฉานหรือไทใหญ่ (Shan) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองตองยี
• เขต (Divisions)
1.เขตอิรวดี (Ayeyarwady) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะสิม
2.เขตพะโค (Bago) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะโค
3.เขตมาเกว (Magway) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมาเกว
4.เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมัณฑะเลย์
5.เขตสะกาย (Sagaing) มีเมืองเอกชื่อ เมืองสะกาย
6.เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) มีเมืองเอกชื่อ เมืองทวาย
7.เขตย่างกุ้ง (Yangon) มีเมืองเอกชื่อ เมืองย่างกุ้ง
เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ 
การทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุก 
การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่องออกขายและล่อมมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง 
อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง 
พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก

ประชากร
จำนวนประชากรประมาณ 52 ล้านคน พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%


การเมือง
พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มีนายออง ซาน (ต่อมาได้เป็นนายพลอองซานซึ่งเป็นบิดาของนางอองซานซูจี) นักชาตินิยมและเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ่นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งนายอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ
ใน พ.ศ. 2485 นายอองซานและพวกตะขิ่นได้เดินทางกลับพม่า นายอองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว นายอองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่นายอองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่นๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของนายอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีนายอองซานเป็นหัวหน้า นายอองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL นายอองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่อยู่ในห้องประชุมสภา ต่อมาตะขิ่นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์
ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายยกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา

วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ศาสนา
พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%

การคมนาคมขนส่ง
การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองมูเซ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากมูเซถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค-ตองอู-ปินมานา-เมกติลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ลาโช-แสนหวี-มูเซ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล
การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด


 ประเทศพม่า  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น